Employee Engagement หรือความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร
Jim Harter หัวหน้าแผนกวิทยาศาสตร์ในที่ทำงานของบริษัท Gallup ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมายาวนานกว่า 20 ปี เขาพบว่าในปีที่ผ่านมาระดับความผูกพันต่อองค์กรในแต่ละบริษัทมีความผันผวนเป็นอย่างมาก และมีผลกระทบโดยตรงกับตัวบริษัท เพราะมันสามารถใช้วัดพนักงานว่าพวกเขามีความกระตือรือร้นในหน้าที่การงานมากน้อยแค่ไหน ทีมของ Harter ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากพนักงานกว่า 100,000 คนในอุตสาหกรรมที่ต่างกัน เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กร และความสำเร็จของบริษัท พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรสูงมีระดับการ
ขาดงานและการลาออกที่ต่ำกว่า และมีระดับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทรวมถึงคุณภาพชีวิตของพนักงานและผลผลิตที่สูงกว่า Harter ลำดับขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่บริษัทต่างๆ ต้องดำเนินการในตอนนี้เพื่อรักษาบุคลากรให้มีสุขภาพที่ดี และมีผลผลิตที่ดีขึ้น
1. เริ่มจากตำแหน่งสูง ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร มักถูกมองว่าเป็นปัญหาในด้านทรัพยากรบุคคล(HR) แต่จริงๆ แล้วมันเริ่มต้นตั้งแต่ซีอีโอและคณะกรรมการของบริษัท ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเข้าใจว่าพนักงานทุกระดับมีความรู้สึกอย่างไร
2. ส่งเสริมการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและความเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร ในการทำงานแบบ Work From Home การส่งเสริมการสื่อสารที่เปิดกว้างเป็นสิ่งสำคัญ มีการแนะนำให้ตั้งระบบที่พนักงาน สามารถได้รับข้อเสนอแนะที่มีความหมาย จากหัวหน้าได้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานได้รับข้อมูลอัปเดทเกี่ยวกับบริษัทอย่างสม่ำเสมอ
3. พัฒนาระบบความรับผิดชอบที่แข็งแกร่ง เมื่อคุณระบุปัญหาของบริษัทได้แล้ว คุณต้องวางระบบเพื่อให้แน่ใจว่าปัญหาจะถูกแก้ไขจริงสิ่งนี้เรียกว่า “ระบบความรับผิดชอบ” และเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่ม productivity และความสุขของพนักงาน ผู้จัดการต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่วัตถุประสงค์ และคุณภาพของงานเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณภาพชีวิตของพนักงานพวกเขาด้วย
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ใช่แค่ทำแบบสำรวจเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรแล้วให้พนักงานกรอก
เสร็จแล้วก็จบๆ ไป ผู้จัดการจำเป็นต้องดึงข้อมูลจากแบบสำรวจมาวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงาน
รู้สึกปลอดภัยในองค์กร นอกจากนี้ยังต้องรับผิดชอบในการดูแลขวัญกำลังใจของพนักงานด้วย
תגובות